พันธกิจ
ให้บริการอาหารตามหลักโภชนาการ สนับสนุนงานวิจัยและการเรียนการสอน
งานโภชนาการ โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มุ่งสู่กระบวนการผลิตและบริการอาหารแก่ผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนแผนการรักษาของแพทย์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการเป้าหมาย
1. ผู้รับบริการได้รับอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ทันเวลา มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ
2. ผู้รับบริการได้รับอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาวะของโรคตามหลักโภชนบำบัด
3. ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการให้บริการอาหาร
4. ผู้รับบริการได้รับความรู้ด้านโภชนาการที่ถูกต้องวัตถุประสงค์
ให้บริการอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ถูกต้องตามหลักโภชนาการ โภชนบำบัด และสุขาภิบาลอาหาร ผู้ป่วยได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอ สนับสนุนแผนการรักษาของแพทย์ พัฒนางานคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ เผยแพร่ความรู้ด้านโภชนาการ ฝึกปฏิบัติงานระดับอุดมศึกษา
งานบริการ
- บริการอาหารสำหรับผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
- บริการอาหารสำหรับผู้สูงอายุที่หน่วยบริบาลผู้สูงอายุ (TropMed Homecare) โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
- บริการอาหารสำหรับผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- บริการอาหารสำหรับผู้ป่วย Home Isolation, Community Isolation, Cohort ward
- บริการอาหารโครงการวิจัย PK ward โครงการวิจัยมาลาเรีย มีรายการอาหารชุดให้เลือก อาหารหลัก 3 มื้อ อาหารว่าง 3 มื้อ
- ให้บริการจำหน่ายอาหารปั่นผสม สำหรับผู้ป่วยนอก ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสูตรอาหารปั่นผสม อาหารทางการแพทย์ที่มีจำหน่ายในโรงพยาบาล
- ตรวจสอบคุณภาพอาหาร น้ำดื่ม ภาชนะ และมือผู้สัมผัสอาหารเป็นประจำ โดยใช้ Test kit ทุกเดือน และตรวจทางห้องปฏิบัติการทุก ๆ 3 เดือน
บริการทางด้านวิชาการ
- คัดกรองภาวะโภชนาการผู้ป่วยที่เบิกอาหารเฉพาะโรค อาหารทางสายให้อาหาร มีการประเมินภาวะโภชนาการให้ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก รวมทั้งผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ให้คำปรึกษาด้านโภชนาการ โภชนบำบัดแก่ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก และบุคคลทั่วไป
- สอนวิธีการทำอาหารทางสายให้อาหารแก่ผู้ป่วย/ญาติ จัดทำสื่อความรู้เผยแพร่ให้แก่ประชาชนทั่วไป รูปแบบโปสเตอร์ อินโฟกราฟฟิค คลิปวิดีโอ ช่องทาง Facebook: งานโภชนาการ โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน Youtube: Nutrition TROPMED มีช่องทางสื่อสารกับผู้ป่วยทางโทรศัพท์หรือไลน์
- สอนนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล วิทยากรให้ความรู้ด้านโภชนาการในกิจกรรมต่างๆ ของโรงพยาบาลและคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานด้านโภชนบริการ โภชนบำบัด โภชนคลินิก โภชนศึกษา และศึกษาดูงานจากหน่วยงานภายนอก
บริการ การตรวจ BIA
วิดีโอความรู้ด้านโภชนาการ
ติดต่อเรา : Contact us
งานโภชนาการ โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ชั้น 1 เลขที่ 420/6 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวีกรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ 02-3069164 , 02-3549100 ต่อ 2012 Line: nutritiontropmedFollow us on :
คำถามที่ถามบ่อย : FAQ
การรับนักศึกษาฝึกงาน
- หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ โภชนาการและการกำหนดอาหาร ระดับปริญญาตรี
- ต้องได้รับวัคซีน COVID-19 ครบตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข มากกว่า 2 สัปดาห์ หรือมีประวัติการเป็นโรค COVID-19 ไม่เกิน 1 เดือนที่ได้รับการรักษาแล้วจนหาย โดยมีหลักฐานใบรับรองแพทย์ประกอบ เว้นแต่มีข้อห้ามทางการแพทย์ในการรับวัคซีน
- ได้รับวัคซีนหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) ครบ 2 เข็ม
- ได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส (Varicella) ครบ 2 เข็ม หรือมีผลการตรวจพบว่ามีภูมิคุ้มกันโรคอีสุกอีใส (Vericalla Ab) หรือมีประวัติการเป็นอีสุกอีใสในอติคพร้อมใบรับรองแพทย์และสำเนาหลักฐานการตรวจวินิจฉัย
- ได้รับวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (Hepatitis B) ครบ 3 เข็ม หรือมีผลการตรวจพบว่ามีภูมิคุ้มกันต่อโรคไวรัสตับอักเสบบี (anti-HBs > 10 IU/mL)
- ได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก หรือวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน โดยได้รับวัคซีน (tetanus-diphtheria (Td) หรือ tetanus-diphtheria-acellulapertussis vaccine (Tdap) จำนวน 1 เข็ม ภายใน 10 ปี)
- ต้องมีผลการตรวจภาพรังสีทรวงอกปกติภายใน 6 เดือน ก่อนปฏิบัติงาน อบรม เรียนรู้ หรือดูงาน หากพบความผิดปกติที่สงสัยเป็นวัณโรค ต้องได้รับการรักษาจนพ้นระยะติดต่อหรือหายดีก่อนเข้าฝึกอบรม เรียนรู้ หรือดูงาน
- ทำการตรวจ Antigen-Test Kit (ATK) FOR COVID-19 ทุกสัปดาห์และรายงานผลการตรวจให้ทราบทางLine หรือ E-mail
- ทำหนังสือขอฝึกงานถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาล
ถ้าอยู่ต่างจังหวัด ไม่สะดวกที่จะมาตรวจที่โรงพยาบาล มีระบบ Telemedicine ปรึกษาแพทย์ online หรือไม่
คลินิกพยาธิ และคลินิกโรคอุจจาระร่วง มีระบบ Telemedicine ผู้ป่วยสามารถพูดคุยปรึกษาแพทย์ได้ โดยผู้ป่วยที่สนใจจะต้องทำนัดหมายตามปกติ และเจ้าหน้าที่จะแจ้งช่องทางในการพูดคุยกับแพทย์ผ่านระบบ Video conference