สาระน่ารู้คู่ HA

ปี 2561

คำว่า SIMPLE เป็นคำที่ทางคณะทำงานส่งเสริม “THAI Patient Safety Goals” ร่วมกันสร้างความตื่นตัวและทางสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (สรพ.) ถือเป็น good practice ที่มีหลักฐานทางวิชาการรองรับ และจะเป็นประโยชน์สำหรับสถานพยาบาลต่างๆ ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในบริบทของตน

SIMPLE คือ อักษรย่อของหมวดหมู่ใหญ่ๆ สำหรับ Patient Safety Goals เพื่อความง่ายในการจดจำ และรองรับเป้าหมายหรือความท้าทายใหม่ๆ ที่จะมีมาในอนาคต
S = Safe Surgery (2nd Global Patient Safety Challenge)
I = Infection Control (Clean Care ใน 1st Patient Safety Challenge)
M = Medication Safety
P = Patient Care Process
L = Line, Tube, Catheter
E = Emergency Response

R2R ชื่อเต็ม คือ “Routine to Research” R2R คือ “การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย” ผลลัพธ์ของ R2R ไม่ได้มุ่งหวังเพียงแค่ได้ผลงานวิจัยเท่านั้น แต่มีเป้าหมายที่จะนำผลงานวิจัย R2R ไปใช้พัฒนางานประจำนั้น ๆ ด้วย
– พัฒนางานประจำที่ทำทุกวัน…ให้เป็นผลงานวิจัย
– เปลี่ยนปัญหาหน้างาน…ให้เป็นผลงานวิจัย
R2R จึงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน เพื่อพัฒนางานขับเคลื่อนองค์กร สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
R2R มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 อย่าง คือ
1. โจทย์วิจัย R2R: ต้องมาจากปัญหาหน้างาน มาจากงานประจำที่ทำกันอยู่และต้องการพัฒนาให้ดีขึ้น
2. ผู้วิจัย: ต้องเป็นผู้ทำงานประจำนั้นเอง และต้องทำหน้าที่หลักในการวิจัยด้วย
3. ผลลัพธ์ของงานวิจัย: ต้องวัดผลได้จากตัวผู้รับบริการจากเรา หรือผู้ป่วยโดยตรง เช่น ด้านการทำงานบริการจะช่วยลดขั้นตอนการทำงาน, การบริการดีขึ้น, แก้ปัญหาภาระงานที่ทำอยู่ได้ ส่วนด้านการดูแลผู้ป่วยผลการรักษาจะดีขึ้น, ภาวะแทรกซ้อนหรือระยะเวลาในการพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลลดลง เป็นต้น
4. การนำผลการวิจัยไปใช้: สามารถนำไปปรับปรุงการทำงานและการบริการให้ดีขึ้นในบริบทของแต่ละองค์กร
“ควรพัฒนา R2R จากงานที่ทำอยู่…ไม่ควรเปิดหน้างานเพิ่มภาระให้ตนเอง”

3C-PDSA เป็นหลักพื้นฐานของกำรพัฒนาคุณภาพ นำมาจากแนวคิดของ MBNQA/TQA มาสร้างเป็น Model ที่เข้าใจง่าย ดังนี้
3C: คือหลักคิดจะประกอบด้วย
Context = บริบท คือ ตัวตน, รู้เขารู้เรา (รู้ว่าเราคือใครทำหน้าที่อะไร)
Core Value and Concept = แนวคิดในกำรทำงาน ของระดับต่าง ๆ
Criteria = เกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ ในแต่ละระบบงาน
PDSA: คือการขับเคลื่อนการพัฒนาและการเรียนรู้ย่อมาจาก
Plan = การวางแผนการดำเนินงาน กระบวนการและกำหนดเป้าหมาย
Do = ลงมือทำตามแผนการดำเนินงาน ตรวจสอบผล
Study = วิเคราะห์ผลที่ได้จากการดำเนินงาน สรุปผลที่ได้พัฒนาต่อหรือแก้ไข และหาแนวทางปรับปรุง
Act = ลงมือพัฒนางาน หรือแก้ไขตามบทเรียน

ค่าว่า Lean เกิดขึ้นยุค ค.ศ.1980 เพื่อใช้อธิบายระบบการผลิตของโตโยต้า (Toyota Production System) ซึ่ง Lean แปลว่า ผอม เพรียว บาง ถ้าเปรียบเทียบกับองค์กรก็หมายถึงองค์กรที่ด่าเนินการโดยปราศจากความสูญเปล่าในทุกๆกระบวนการ
ทำไมต้องนำ Lean มาใช้ในบริการสุขภาพ
การดูแลสุขภาพที่เป็นอยู่ หรือวิธีการที่เราได้รับการฝึกอบรมมาในการให้บริการสุขภาพ มีลักษณะที่เป็นข้อด้อยสำคัญบางประการ ได้แก่ เป็นการจัดบริการเพื่อตอบสนองต่อแต่ละครั้ง (episode) ของการเจ็บป่วย, เป็นบริการแบบตั้งรับที่ผู้ป่วยต้องช่วยตนเองในการเข้าหาบริการ, ผู้ป่วยต้องรอคอยเป็นเวลานาน, มีปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและผู้ให้บริการ, การสื่อสารระหว่างทีมผู้ให้บริการเป็นไปอย่างลุ่มๆดอนๆ, กระบวนการดูแลมีความไม่แน่นอน, มีการใช้ดุลยพินิจตัดสินใจจำนวนมากและแตกต่างหลากหลาย, มีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดในกระบวนการดูแลจ่านวนมากโดยที่ระบบไม่ได้ออกแบบเพื่อป้องกัน, ไม่มีการวัดผลลัพธ์ของการท่างานที่สอดคล้องกับคุณค่าที่ผู้ป่วยต้องการ มีราคาแพง เราจำเป็นต้องใช้แนวคิดแบบใหม่ เพื่อผู้ป่วยของเรา และบุคลากรของเรา ร้อยละ 80 ของความบกพร่องทางการแพทย์มาจากระบบ วิธีการที่ได้ผลที่สุดในการแก้ไขข้อบกพร่องดัง กล่าวคือ การแก้ไขที่ระบบและระเบียบปฏิบัติ

การนำแนวคิดคุณภาพหรือเครื่องมือคุณภาพมาใช้ มีแนวคิดง่ายๆคือการสร้างความเข้าใจโดยไม่ติดกรอบมีความเข้าใจในการนำไปใช้ได้จริง โดยใช้หลักการ รู้ลึก รู้จริง ยิ่งทำ ยิ่งง่าย
รู้ลึก คือ การใช้คำถาม What, Why, How
– What สิ่งนี้คืออะไร เครื่องมือนี้คืออะไร รู้อย่างเชื่อมโยงกับความรู้เดิม รู้ spectrum ของเรื่องนั้น รู้ที่มาของคำศัพท์ที่ใช้ รู้ไปถึงการใช้คำอื่นที่เป็นเรื่องเดียวกัน
– Why ทำไมต้องทำ รู้ที่มาที่ไปของเรื่องนั้นรู้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากไม่มีการเปลี่ยนแปลง เข้าใจวิธีคิดของคนที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่ลงมือทำ
– How ทำอย่างไร รู้วิธีการวางแผนเพื่อลดแรงต้านและเสริมแรงหนุน รู้วิธีการบริหารจัดการให้เกิดผล รู้ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร รู้ว่าจะปรับเปลี่ยนการใช้เครื่องมือนั้นให้เหมาะสมกับบริบทของตนอย่างไร
รู้จริง คือรู้วิธีการที่หลากหลาย สามารถเลือกมาใช้ทดแทนกันได้ หรือผสมผสานกันได้อย่างเหมาะสมกับโจทย์ที่ต้องการพัฒนา
ยิ่งทำ ยิ่งง่าย คือง่ายเพราะการรู้ลึกและรู้จริง และง่ายเพราะการลงมือทำ แล้วใคร่ครวญเรียนรู้จากผลที่เกิดขึ้น

Risk Register ทะเบียนจัดการความเสี่ยงเป็นเอกสารหลักเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงทุกขั้นตอน ตั้งแต่การประเมิน การวางแผน การตอบสนอง ไปจนถึงการติดตามและทบทวน ทำให้กระบวนการบริหารความเสี่ยงเป็นกระบวนการที่มีชีวิต เป็นพลวัต และท่าให้เกิดการปรับปรุงวิธีการท่างานอย่างต่อเนื่องซึ่ง Risk Register เป็นเครื่องมือใหม่เป็นเครื่องมือต่อยอดจาก Risk Profile ที่ รพ.มีอยู่แล้วมุ่งเน้นการจัดการในภาพรวม ทำให้เห็นภาพรวมของความเสี่ยงทั้งรพ.
Risk Profile เป็นเอกสารอธิบายชุดของความเสี่ยงซึ่งเป็นผลของการวิเคราะห์เชิงปริมาณในสิ่งที่คุกคามประเภทต่างๆที่องค์กรต้องเผชิญ (โอกาสเกิดและผลที่ตามมา) อาจนำเสนอในรูป risk matrix หรือ risk rating table เป็นขั้นตอนแรกในการท่า risk register
Risk owner คือบุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้รับ authority เพื่อจัดการกับความเสี่ยงใดความเสี่ยงหนึ่ง และออกหน้ารับผิดชอบ (accountable) ในการรับท่าหน้าที่ดังกล่าว

  1. ปรัชญาสำคัญ คือ HA เป็นกระบวนการเรียนรู้มิใช่การตรวจสอบ เรียนรู้จากการประเมินและพัฒนาตนเองร่วมกับการเยี่ยมโดย External peer
  2. เป้าหมายสำคัญของ HA คือ คุณภาพและความปลอดภัยที่ผู้ป่วยจะได้รับ การประเมินและรับรองเป็นเพียงการตรวจสอบความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ
  3. มาตรฐาน HA เป็นกฎกติการ่วม เป็นกรอบชี้นำการพัฒนาในการนำมาตรฐานไปปฏิบัติ ควรใช้หลัก 3C-PDSA คือรู้หลัก รู้โจทย์ รู้เกณฑ์ เป้าหมายชัด วัดผลได้หมุนการพัฒนาต่อเนื่องเพื่อสร้างคุณค่าให้ผู้รับผลงาน
  4. HA ควรนำไปสู่องค์กรในฝันต่อไปนี้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ องค์กรที่มีชีวิต องค์กรที่น่าไว้วางใจ องค์กรที่มีผลงานสูง
  5. ผู้ได้รับผลประโยชน์จากกระบวนการพัฒนา ควรมีทั้งผู้ป่วย/ผู้รับบริการ คนทำงาน องค์กร หน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพและสังคมโดยรวม
  6. HA มุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการเพื่อผลลัพธ์ที่ต้องการ มิได้เน้นเฉพาะกระบวนการหรือผลลัพธ์เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง
  7. HA ทำให้มีการเติบโตขึ้นทั้งระบบงานและคนทำงาน กระบวนการพัฒนาควรทำให้เกิดความรู้สึกง่าย มัน ดี มีสุข
  8. HA คือการประสานแนวคิดและเครื่องมือการพัฒนาทุกรูปแบบ โดยนำมาใช้เกื้อหนุนกัน เช่น KM, R2R, Lean, Design thinking
  9. การพัฒนาคุณภาพบริการคือการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นต้นแบบ สำหรับการเรียนรู้และฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพในอนาคต

Evidence-based practice (EBP) คือ “การใช้หลักฐานที่ทันสมัยและดีที่สุดในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยแต่ละราย โดยมีการใคร่ครวญอย่างรอบคอบ ชัดเจน เป็นการเชื่อมโยงองค์ประกอบสามด้านเข้าด้วยกัน คือ
1. ความเชี่ยวชาญทางคลินิกของผู้ประกอบวิชาชีพ
2. หลักฐานทางคลินิก ที่ได้จากการวิจัยอย่างเป็นระบบ
3. ค่านิยม ความคาดหวัง ความพึงพอใจของผู้ป่วยเพื่อเพิ่มโอกาสการมีผลลัพธ์ทางคลินิกและคุณภาพชีวิตที่เหมาะที่สุด
กระบวนการ EBP
ประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้
1. Assess ประเมินผู้ป่วย
2. Ask ตั้งค่าถามทางคลินิคที่ดี
3. Acquire เลือกแหล่งข้อมูลหลักฐานที่เหมาะสมและค้นหา
4. Appraise ประเมินหลักฐานในด้าน validity (วิธีการท่าให้ได้ค่าตอบที่ตรงประเด็นหรือไม่) และ applicability (ใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้หรือไม่)
5. Apply น่าหลักฐานมาเชื่อมโยงกับประสบการณ์ทางคลินิกของผู้ดูแล และความพึงใจของผู้ป่วย และประยุกต์ในการดูแลผู้ป่วย
6. Evaluate ประเมินผลที่เกิดขึ้น

Run Chart: ก็คือการประเมินว่ารูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่เข้ากับรูปแบบการเปลี่ยนแปลงภายใต้ความแปรปรวนปกติ การเปลี่ยนแปลงที่พบจึงน่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริง โดยวิเคราะห์จากข้อมูล 15 ข้อมูลขึ้นไปมและเลือกข้อมูลที่มีความต่อเนื่องกัน 5 จุด มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
Control Chart: มีหลักคิดและวิธีการที่คล้ายคลึงกับ Run Chart แต่ใช้สถิติเข้ามาช่วยในการทำ chart มากขึ้น จึงทำได้ยากกว่า Run Chart แต่ก็มีข้อดี คือ ช่วยในการสร้างช่วงค่าของการควบคุม (โดยมีค่า upper control limit และ lower control limit) เพื่อดักจับค่าการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงกระบวนงานได้อย่างทันการณ์และมีความไวกว่าในการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงที่ค่าเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแต่มีความแปรปรวนในระบบสูงขึ้นหรือต่ าลง
ทั้งนี้การเลือกใช้ Run Chart หรือ Control Chart ในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของข้อมูลนั้น แต่การติดตามข้อมูลทั้งสองแบบก็จะเป็นประโยชน์ให้เราสามารถวิเคราะห์และสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้น

2P Safety : Patient and Personnel Safety
โดยใน วันที่ 17 กันยายน 2560 นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีการประกาศ ยุทธศาสตร์ 2P Safety และ National Patient and Personnel Safety Goals ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และมีการกำหนดเป็นเป้าหมายความปลอดภัย สื่อสารในโรงพยาบาล ควบคู่กับการพัฒนาและรับรองคุณภาพ ภายใต้แนวทางปฏิบัติที่เรียกโดยย่อว่า SIMPLE โดยแนวคิด 2P ต้องการให้ผู้ปฏิบัติงานมั่นใจในการปฏิบัติงานและผู้มารับบริการมั่นใจในการเข้ารับบริการมากขึ้น ก็ขอให้ทุกท่านได้นำแนวคิดนี้ไปเป็นหลักในการทำงาน เพื่อให้เราและผู้รับบริการมีความปลอดภัย ลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อไป

หนึ่งภาพลักษณ์ของคนยุคมิลเลนเนียมในประเทศแถบตะวันตก คือประชากรใช้ชีวิตแบบสนใจและรักสุขภาพ ขณะที่กลุ่มมิลเลนเนียมในประเทศไทยกลับแตกต่าง ทั้งในแต่ละวันยังมีกิจกรรมทางกายเพียง 1.1 ชั่วโมง น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับเจนอื่นๆ
กลุ่มคนยุคมิลเลนเนียม หรือผู้ที่เกิดในช่วงปี 2525-2545 เป็นกลุ่มที่มีการใช้จ่ายด้านอาหารสูงสุดถึง 77 % ของรายจ่ายทั้งหมด ขณะที่กลุ่มคนเบบี้บูมเมอร์ หรือผู้ที่เกิดปี 2486-2503 และกลุ่มเจนเอกซ์ หรือผู้ที่เกิดปี 2504-2524 ใช้จ่ายด้านอาหารเพียง 46.4% และ 40% ตามลำดับ
ด้วยพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป วิถีชีวิตสมัยใหม่ท าให้การปรุงอาหารเองน้อยลง ในขณะที่การรับประทานอาหารนอกบ้านหรือซื้ออาหารสำเร็จมีมากขึ้น ค่าใช้จ่ายอาหารจึงสูงตามไปด้วย
องค์การอนามัยโลก จัดอันดับประเทศที่มีประชากรน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานและเปรียบเทียบกันระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน พบว่า ไทยมีประชากรที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรืออ้วนมากถึง 32.2% ซึ่งนับเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน ถ้าหากคำนวณจากประชากรทั้งประเทศที่มีอยู่ประมาณ 60 ล้านคน ประเทศไทยจะมีคนอ้วนถึง 19 ล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 3

สาระน่ารู้คู่ HA - ปี 2561