งูสวัด และวัคซีนป้องกัน
🐍งูสวัด รัดแล้วตาย?
งูสวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลา (Varicella virus) ซึ่ง เป็นเชื้อตัวเดียวกันกับโรคสุกใสนั่นเอง หลังจากที่หายจากสุกใสไวรัสไม่ได้ถูกกำจัดไป แต่กลับไปซ่อนอยู่ตามปมประสาทส่วนต่างๆในร่างกาย
เมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอจากอายุที่มากขึ้น หรือปัจจัยอื่นๆ เชื้อจึงกลับมาแสดงอาการตามแนวเส้นประสาทที่ไปซ่อนอยู่ ซึ่งปลายเส้นประสาทของมนุษย์จะสิ้นสุดที่กึ่งกลางลำตัวเท่านั้น เพราะฉะนั้นงูสวัดพันรอบตัวแล้วตายเลยเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง เพราะไม่สามารถพันได้ครบรอบได้นั่นเอง
— อาการของโรคงู งูสวัด —
อาการจะเริ่มจากคันหรือแสบร้อน จากนั้ นั้นจะมีตุ่มน้ำใส ปวดแสบปวดร้อนขึ้นตามแนวเส้นประสาท
จากนั้นผื่นจะค่อยๆแห้งและตกสะเก็ดไปในที่สุด แต่เมื่อผื่นหายไป ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะสามารถมีอาการปวดตามเส้นประสาทเรื้อรังได้หลายเดือน (หรือเนรียกว่า Post-herpetic neuralgia: PHN) บางรายที่มีการอักเสบของเส้นประสาทสำคัญ จะสามารถทำให้มีภาวะแทรกซ้อน เช่น กระจกตาอักเสบ การได้ยินของหูลดลง เป็นต้น ในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจเกิด อาการงูสวัดหลายที่พร้อมกัน หรืองูสวัดแบบแพร่กระจายได้(Disseminated zoster)
ความแตกต่างของวัคซีนงูสวัดทั้ง 2 ชนิด
1.วัคซีนเชื้อตายซับยูนิต (Shingrix)
– มีประสิทธิภาพในการป้องกันงูสวัด อายุ 50 ปีขึ้นไป 97% ในช่วงระยะเวลา 3 ปี
– ป้องกันอาการปวดหลังจากเป็นงูสวัด(PHN) 91%
– ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 2-6 เดือน
– ฉีดในผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้
2.วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (Zostavax, Skyzoster)
– มีประสิทธิผลในการป้องกันงูสวัดในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 17% ในช่วง 4 ปี
– ป้องกันอาการปวดหลังจากเป็นงูสวัด PHN 67%
– ฉีด 1 เข็ม
– ไม่สามารถฉีดในผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือหญิงตั้งครรภ์ได้
คำแนะนำในการฉีดวัคซีนชนิดซับยูนิต
– แนะนำในผู้มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป้ที่ภูมิคุ้มกันปกติ
– ผู้มีอายุ 19-50 ปีที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
– หากเป็นงูสวัดแล้วสามารถฉีดได้ โดยเว้นระยะห่างจากการเป็นงูสวัด 6-12 เดือน
– หากเคยฉีดวัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์แล้วสามารถฉีดวัคซีนชนิดซับยูนิตได้โดยเว้นระยะอย่างน้อย 2 เดือน
เรารวมวัคซีนไว้ที่นี่ ➡️ ตรวจสอบรายการวัคซีน และนัดหมายรับวัคซีนได้ที่ https://www.thaitravelclinic.com/th/cost-th.html
ข้อมูลโดย นพ.รชต เจริญวิเศษศิลป์ คลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
#เป็นไข้ให้เขตร้อนดูแล #โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน #มหาวิทยาลัยมหิดล