ไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนป้องกัน

ไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบเข้าใจได้
ไข้หวัดใหญ่ คือ โรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า อินฟลูเอนซ่า (Influenza) ซึ่งมีการระบาดเป็นช่วงๆในหน้าฝน และหน้าหนาว เป็นเชื้อที่มี โอกาสกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรงได้โรดไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังติดเชื้อหรือถึงแก่ชีวิตได้
ติดต่ออย่างไร
ติดต่อระหว่างคนสู่คน ผ่านการไอ จาม หรือสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ
อาการเป็นอย่างไร?
1. มีไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก
2. คัดจมูก น้ำมูกไหล และเจ็บคอ
3. มีอาการคลื่นไส้อาเจียน และท้องเสีย
4. อ่อนเพลียตลอดเวลา
5. วัคซีนไข้หวัดใหญ่
Note : การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทั้ง 3 สายพันธุ์ หรือ 4 สายพันธุ์ ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด แต่จะช่วยลดความรุนแรงของโรค ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล และลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ลงได้
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์
จะป้องกันสายพันธุ์ A : 2 ชนิด และสายพันธุ์ B : 1 ชนิด
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์
จะป้องกันสายพันธุ์ A : 2 ชนิด และสายพันธุ์ B : 2 ชนิด
ควรฉีดกี่เข็ม และฉีดเมื่อไหร่ ?
เริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน และควรฉีดเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 ครั้ง โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ จะใช้เวลา 2 สัปดาห์ในการสร้างภูมิคุ้มกันช่วยป้องกันการติดเชื้อ
บุคคลที่ไม่ควรฉีด
1. เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน
2. ผู้ที่เคยฉีดแล้วมีอาการแพ้อย่างรุนแรง
3.มีไข้ เจ็บป่วยเฉียบพลัน หรือโรคประจำตัวมีอาการกำเริบดวบคุมไม่ได้
หมายเหตุ กรณีเป็นหวัดเล็กน้อย ไม่มีไข้ สามารถรับการฉีดวัดซีนได้
ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนที่อาจพบได้
1. อาการเฉพาะที่บริเวณที่ฉีด เช่น ปวด บวม แดง เกิดภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังฉีด
แต่อาการจะหายไปเองภายใน 2-7 วัน
2. หลังฉีดบางรายจะมีใข้ต่ำๆ รู้สึกไม่สบายตัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ อาจเริ่มมี
อาการภายใน 6-12 ชั่วโมง และอาจเป็นนาน 1-2 วัน โดยอาจไม่ต้องรับการรักษา
ใครบ้างที่ควรฉีด?
1. บุคคลทั่วไป สามารถฉีดได้ทุกช่วงอายุ
2. เด็กเล็กอายุ 6 เดือน-2 ปีขึ้นไป
3. ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือต้องรักษาด้วยยาแอสไพรินเป็นประจำ
4. หญิงตั้งครรภ์4 เดือนขึ้นไป
5. นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปต่างถิ่น ที่อาจมีการระบาด
6. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวตั้งแต่ 100 กิโลกรัม หรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35กก./ตรม.
7. ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
ประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยมีใครบ้าง
1. เด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี
2. ผู้สูงอายุที่อายุ 65 ปีขึ้นไป
3 ผู้พิการทางสมองช่วยเหลือตนเองไม่ได้
4 ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งและเบาหวาน
5 ผู้ที่เป็นโรดธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
6 ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอ้วน มีน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป หรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กก./ตรม.
7 หญิงตั้งครรภ์ (อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป)
ข้อมูลโดย นายแพทย์ปฐมเทพ เลี้ยววัฒนา โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล